กลับสู่หน้าหลัก เนื้อหาบทเรียน บบฝึกหัดก่อนเรียน แบบทดสอบ สรุปความรู้ที่ได้

 

สรุปความรู้ที่ได้

แนวคิดด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

ลามาร์ค (Lamarckian theory) กฏแห่งการใช้และไม่ใช้ (Law of

use and disuse) โดยยึดหลักการดังนี้คือ

- ลักษณะของสิ่งมีชีวิตจะผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม

- สัตว์ที่อยู่ในสปีชีส์เดียวกันย่อมมีแบบพื้นฐานเหมือนกัน

- การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นย่อมมีประโยชน์ต่อ

  1. สิ่งมีชีวิตนั้น

ดาร์วิน (Darwin's theory) ทฤษฏีการคัดเลือกตามธรรมชาติ

กล่าวว่า

- สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันย่อมแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เรียกว่า

variation

- สิ่งมีชีวิตมีลูกหลานจำนวนมากตามลำดับเรขาคณิต

- สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องมีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดแปรผันให้

เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม และสืบพันธุ์ถ่ายทอดไปยังลูกหลาน

- สิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดที่อยู่รอดและดำรงเผ่าพันธุ์ของตน

ไว้ ทำให้เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติเกิดความแตกต่างไป

จากสปีชีส์เดิมมากขึ้นจนเกิดสปีชีส์ใหม่

ทฤษฎีวิวัฒนาการแผนใหม่ (Modern theory of evolution)

 

ทฤษฎีการผ่าเหล่า (Mutation theory) ยีนอาจเกิดการเปลี่ยน

แปลงได้อย่างกะทันหัน ทำให้เกิดลักษณะใหม่ที่ผิดไปจาก

บรรพบุรุษและสามารถถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวไปยังลูกหลาน

รุ่นต่อๆ ไปได้

ทฤษฎีการสืบเนื่องของเซลล์สืบพันธุ์ (Theory of the Continuity

of the Germ Plasm) กล่าวว่า ลักษณะที่จะถ่ายทอดไปยังลูก

หลานจะต้องเป็นลักษณะที่เกิดจากยีนในเซลล์สืบพันธุ์ มิใช่ยีน

ในเซลล์ร่างกาย

หลักฐานที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าวิวัฒนาการมีจริง

1. หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต

ซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต (fossil) จะมีสาร C ค้างอยู่ และ

ส่วนหนึ่งคือ 14C ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี จะสลายตัวไป

อย่างช้า ๆ เหลือครึ่งหนึ่งของเดิมทุก ๆ 5,568 ปี จึงสามารถ

คำนวณหาอายุ โดยการวิเคราะห์หาปริมาณ 14C ที่เหลืออยู่ใน

ซากดึกดำบรรพ์นั้น

2. หลักฐานจากการเจริญของเอมบริโอ

แบบแผนการเจริญของเอมบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

คล้ายกันคือ ขณะเป็นตัวอ่อนจะมีช่องเหงือก(gill slits) น่าจะ

วิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน

3. หลักฐานจากการศึกษาชีววิทยาในระดับโมเลกุล

DNA เป็นตัวกำหนดโครงสร้างของโปรตีน การศึกษาเปรียบ

เทียบความแตกต่างของโปรตีนในสิ่งมีชีวิตจึงเท่ากับเป็นการ

ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของยีน (DNA) ทางวิวัฒนาการ

ของสิ่งมีชีวิต

ปัจจุบันมีการตรวจหาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันของสิ่งมีชีวิต

เชิงวิวัฒนาการ จะศึกษาจากโปรตีน

4. หลักฐานทางสรีรวิทยา

กลไกของวิวัฒนาการ

กลไกของวิวัฒนาการที่สำคัญ คือ

1. มิวเตชันและความแปรผันทางพันธุกรรม

2. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ

3. การอพยพเข้าและการอพยพออก

4. ขนาดของประชากร